Tue. Apr 2nd, 2024
ช่วยคนกลัวเข็ม

            ช่วยคนกลัวเข็ม ความกลัวของคนเราไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน ที่แน่ ๆ ก็คือ ยังมีคนที่กลัวเข็มฉีดยาถึงขนาดเห็นเข็มแล้วใจคอไม่ดี แข้งขาสั่น พานจะเป็นลมเสียให้ได้ทั้งที่เป็นผู้ชายรูปร่างกำยำล่ำสัน บางคนอาจกลัวเข็มฉีดยาจนถึงขั้นปฏิเสธการฉีดยา การเจาะเลือด รวมทั้งไม่ยอมให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานที่ต้องรับการฉีดยาต่อเนื่อง

ช่วยคนกลัวเข็ม

เทคโนโลยี ช่วยคนกลัวเข็ม คือแบบแผ่นแปะบนร่างกายที่เต็มไปด้วยเข็มขนาดจิ๋วที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป

            เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีนักวิทยาศาสตร์ที่คิดหาวิธีการช่วยเหลือกลุ่มคนกลัวเข็มฉีดยา ไม่ว่าจะมีมากน้อยเท่าใดก็ตาม โดยพยายามเสาะหาข้อมูลเปรียบเทียบกับการเจาะเลือดของยุง เพราะว่าคนเรามักแทบไม่รู้สึกตัวเมื่อถูกยุงกัด กว่าจะรู้ ยุงก็บินหนีไปไกล ทิ้งไว้แต่ร่องรอยตุ่มบวมแดงเจ็บๆ คันๆ

เทคโนโลยี ช่วยคนกลัวเข็ม

            ทีมงานนี้คือนักวิจัยในมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สเตท สหรัฐอเมริกา ที่ศึกษากลไกการดูดเลือดของยุงอย่างละเอียด ได้แก่ ขั้นตอนหลั่งน้ำลายที่ทำให้ผิวหนังของเรามีอาการชา และสั่นจะงอยปากเพื่อลดแรงเจาะที่ผิวหนัง โดยจะงอยปากของยุงมีลักษณะเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อยที่ทำให้เจาะผิวหนังได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ บริเวณส่วนหุ้มจะงอยปากของยุงเพศเมียบางพันธุ์ยังมีลักษณะอ่อนนุ่มซึ่งช่วยลดแรงเจาะเวลาดูดเลือดคน ทำให้คนที่ถูกยุงกัดไม่ค่อยรู้สึกว่าเจ็บ

            จากหลักการนี้ นักวิจัยจึงได้ออกแบบเข็มฉีดยาขนาดเล็กที่ประกอบด้วยเข็มจิ๋วสองชนิด โดยเข็มหนึ่งเป็นตัวปล่อยสารที่ทำให้เกิดอาการชา ส่วนอีกเข็มหนึ่งที่มีหน้าตาคล้ายฟันเลื่อยแต่ส่วนปลายนุ่ม ใช้สำหรับดูดเลือดหรือให้ยา ซึ่งราคาอาจจะแพงกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปสักหน่อย แต่ก็เป็นทางเลือกให้คนที่กลัวเข็มฉีดยาได้

ชุดฉีดยาแบบไร้เข็ม

            และอีกงานวิจัยที่ล้ำหน้าไปหนึ่งขั้นก็คือ ชุดฉีดยาแบบไร้เข็ม ผลงานของทีมนักวิจัยภาควิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส (MIT) สหรัฐฯอีกเช่นกัน โดยออกแบบอุปกรณ์จิ๋วที่พ่นละอองยาแรงดันสูง ความเร็ว 200 เมตรต่อวินาที ให้ทะลุผ่านผิวหนังของมนุษย์ได้ในพริบตาโดยแทบจะไม่รู้สึกว่าเจ็บ แถมยังคุมปริมาณยาและความเร็วในขณะพ่นยาได้แม่นยำด้วย เทคโนโลยีนี้ล้ำสมัยตรงที่สามารถส่งยาในรูปแบบผง เพื่อให้ผงนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวและถูกฉีดพ่นออกมา ข้อดีคือยาผงเก็บรักษาและขนส่งง่ายโดยไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิ   

            สุดท้าย คือผลงานวิจัยเพื่อออกแบบแผ่นแปะบนร่างกายที่เต็มไปด้วยเข็มขนาดจิ๋ว เรียกว่า เข็มขนาดไมครอนที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน  รวมทั้งผลงานวิจัยใช้เทคโนโลยีการฉายแสงเพื่อช่วยให้แลเห็นเส้นเลือดที่อยู่ใต้ผิวหนังผู้ป่วยแม้มองด้วยตาเปล่า เป็นต้น

ติดตามข่าวสารอื่น ๆ อีกมากมาย ข่าวสารวงการไอที ได้ที่นี่ และ เทคโนโลยี One Password มาทำความรู้จักกับตัวช่วยเรื่องพาสเวิร์ด ที่ทำให้ข้อมูลของคุณ