Sun. Mar 31st, 2024
เทคโนโลยีใหม่ แบตฯ สังกะสี

     เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลารวมถึงแบตเตอรี่ที่ใช้กักเก็บพลังงานซึ่งเราใช้กันในชีวิตประจำวันด้วย เทคโนโลยีใหม่ แบตฯ สังกะสี ต้องบอกเลยว่าแบตเตอรี่สังกะสี  (หรือแบตเตอรี่ซิงก์ไอออน)  เป็นอะไรที่ตอบโจทย์มากและจะมาแทนที่แบตเตอรี่ลิเทียมที่เรานิยมใช้กันในขณะนี้อย่างแน่นอน…  

เทคโนโลยีใหม่ แบตฯ สังกะสี

เทคโนโลยีใหม่ แบตฯ สังกะสี  กักเก็บพลังงานที่จะมาตอบโจทย์มากในยุคปัญจุบัน      

ความแตกต่างของแบตเตอรี่ทั้งสองแบบ

     ขอกล่าวในส่วนของการผลิตก็แล้วกัน…  แบตเตอรี่ลิเทียมจะใช้สารอินทรีย์เหลวที่สามารถติดไฟได้  ส่วนแบตเตอรี่สังกะสีจะใช้อิเล็กโทรไลต์แบบน้ำที่มีเกลือผสมซึ่งนำไฟฟ้าได้ดี       

เทคโนโลยีใหม่ แบตฯ สังกะสี  กักเก็บพลังงาน

เปรียบมวยแบตเตอรี่ลิเทียมแบบเก่ากับแบตเตอรี่สังกะสีแบบใหม่

     ข้อดีของแบตเตอรี่ลิเทียม  :  สามารถใช้งานได้ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบพกพาและรถยนต์ไฟฟ้า  มีความจุพลังงานสูง  ขนาดเล็ก  และมีน้ำหนักเบา

     ข้อด้อยของแบตเตอรี่ลิเทียม  :  มีความเสี่ยงที่จะติดไฟสูงหรือระเบิดได้  (ดังจะเห็นได้จากข่าวการระเบิดของโทรศัพท์มือถืออยู่เนืองๆ  ซึ่งความปลอดภัยควรเป็นเรื่องสำคัญที่สุด)  นอกจากนี้ลิเทียมที่ใช้ในการผลิตก็ยังมีจำกัดในบางพื้นที่เท่านั้น

     ข้อดีของแบตเตอรี่สังกะสี  :  มีความจุพลังงานสูง  ไม่มีปัญหาเรื่องการลัดวงจรไฟฟ้าดังนั้นจึงมีความปลอดภัยสูง  (สังกะสีจะไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศและไม่ติดไฟนั่นเอง  จึงเหมาะกับการประยุกต์ใช้ในงานที่ต้องการความปลอดภัยสูงๆ อย่างแท่นขุดเจาะน้ำมันหรือในเรือดำน้ำครับ)  ส่วนต้นทุนในการผลิตก็ยังต่ำกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมหลายเท่าด้วย  นอกจากนี้สังกะสีที่ใช้ในการผลิตก็ยังหาได้ง่ายพบได้ทั่วไปด้วย

เทคโนโลยีใหม่ แบตฯ สังกะสี- แบตเตอรี่ซิงก์ไอออน

วงการไหนๆ ต่างก็รุมจีบแบตเตอรี่สังกะสีกันทั้งนั้น        

     แม้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างแบตเตอรี่สังกะสีจะถูกค้นพบในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้  แต่ก็ได้รับความสนใจจากวงการต่างๆ อย่างมากมาย  อาทิ  วงการทหาร  (ของกองทัพสหรัฐฯ)  วงการยานยนต์ไฟฟ้า  และระบบสำรองพลังงานของพลังงานทดแทน            

แบตเตอรี่สังกะสีในต่างประเทศ

     ขณะนี้บริษัทเอกชนในหลายประเทศอย่างสหรัฐฯ และแคนาดา  ต่างก็แข่งขันวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่สังกะสีกันอย่างดุเดือด

แบตเตอรี่สังกะสีในประเทศไทย      

     ไทยเราก็มีการวิจัยเรื่องนี้เช่นเดียวกัน  โดยศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์  (และยังร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ อีกมากมายด้วย)  ซึ่งวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่สังกะสีด้วยวัสดุคือกราฟีน  (วัสดุที่เป็นส่วนหนึ่งของแกรไฟต์)  มีความปลอดภัยสูง  แม้ถูกเจาะก็ไม่ระเบิด  และยังมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ลิเทียมบางชนิดด้วย 

     หากการวิจัยสำเร็จไทยเราก็จะมีความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้นและไม่ต้องนำเข้าลิเทียมจากต่างประเทศให้สิ้นเปลืองด้วย  นอกจากนี้ประเทศไทยก็ยังมีแหล่งแร่สังกะสีใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกอยู่ที่จังหวัดตากอีกด้วย   

ฝากกดติดตาม ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และข่าวสารวงการเทคโนโลยีใหม่ ๆ กรีนไฮโดรเจน green hydrogen เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น     

ถ้าหากว่างจากการศึกษาข้อมูลข่าวสารไอทีและเทคโนโลยีแล้วแอดขอแนะนำ สล็อต888 ในการลงทุนอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ ๆ